วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
ประจำวันศุกร์ ที่  13 เดือนธันวาคม พ..2556
ทำกิจกรรม   เรขาคณิต
1.                เลือกรูปเรขาคณิต ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ มีรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
2.                เลือกกระดาษสีแล้วตัดรูปเรขาคณิตที่เลือก
3.                ทากาวแล้วติดบนกระดาษ
4.                วาดรูปโดยให้รูปเรขาคณิตนั้นเป็นส่วนใดของสัตว์ก็ได้
ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการทำกิจกรรม
1.                ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
2.                ได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็กในการวาดรูประบายสี
3.                ได้พัฒนาความกล้าแสดงออก  ** ในกรณีที่ครูผู้สอนให้เด็กนำรูปสัตว์ที่ตนเองทำเสร็จแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน**

….ผลงาน…..


                                                                                                                                 



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
ประจำวันศุกร์ที่ 6 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานตามกลุ่มที่ตัวเองได้รับมอบหมาย กลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มแรก ได้นำเสนอ เรื่อง จำนวนและการดำเนินกาาร ค่ะ





กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด





กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต




กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต



กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง การวิเคราะห์และความน่าจะเป็น









วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
ประจำวันศุกร์  ที่  22  เดือนพฤศจิกายน  .. 2556
** เวลาถามคำถามเด็กต้องถาม เหตุผลเสมอ **
จุดมุ่งหมาย
-                   เพื่อเข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์  เช่น รู้คำศัพท์
-                   พัฒนามโนภาพ  เช่น  บวก  ลบ
-                   รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-                   ให้ฝึกฝนทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-                   ให้มีความรู้ความเข้าใจ
-                   เพื่อให้ค้นคว้าหาคำตอบเอง  ( ครูไม่เฉลย )
·       ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับครูปฐมวัย
1.            การสังเกต  ( Observation )
-                   การใช้ประสารทสัมผัสในการเรียนรู้   ( สัมผัสของจริง )
-                   โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง  อย่างมีจุดหมาย
2.            การจำแนกประเภท  ( Classifying )
     เกณฑ์  ความเหมือน  /  ความต่าง  /  ความสัมพันธ์
-                   แบ่งประเภทของสิ่งของโดยใช้เกณฑ์
3.            การเปรียบเทียบ  ( Comparing )
-                   เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ / เหตุการณ์   ตั้งแต่  2  สิ่งขึ้นไป
-                   เด็กต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
                **  สิ่งที่สังเกตเห็นแล้วพูดออกมา **
4.            การจัดลำดับ  ( Ordering )
-                   เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง  3  ปีขึ้นไป
-                   จัดลำดับวัตถุและเหตุการณ์
5.            การวัด  ( Measurement )
-                   มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-                   การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ( อุณหภูมิ / เวลา / ระยะทาง / ความยาว / น้ำหนัก /ส่วนสูง  )
**  การวัดของเด็กปฐมวัย  ไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด 
                                  ใช้การเปรียบเทียบแทน  **
6.            การนับ  ( Counting  )
-                   เด็กชอบนับแบบท่องจำ โดยไม่รู้ความหมาย
-                   การนับ  ( ท่องจำ )  จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง  เช่น  นับเพื่อนที่มาเรียน / ใน 1 สัปดาห์ หนูมาเรียนกี่ครั้ง
7.            รูปทรงและขนาด ( Sharpand Size )
-                    ส่วนมากเด็กเข้าใจอยู่แล้ว  ( ไม่ค่อยมีปัญหา )
      **  ภาพหนึ่งภาพสามารถสะท้อนได้ทั้ง 7 ทักษะ  **



กิจกรรม ภายในห้อง
1.            วาดรูปวงกลม  1  รูป
2.            เขียนเลขที่ชอบลงตรงกลางวงกลม
3.            ตัดกระดาษสีต่าง ๆ ทำกลีบให้เท่ากับตัวเลขที่เขียนไว้ในวงกลม



ประโยชน์
1.            เด็กได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรง
2.            เด็กได้เรียนรู้เรื่องตัวเลข
3.            เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์
4.            เด็กได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาในการตัดกระดาษ



วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
ประจำวันศุกร์  ที่  15   เดือนพฤศจิกายน  .. 2556
  สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้
·       การวัด
·       เรขาคณิต                                         (  นำเสนอ 10 คะแนน  )
·       พีชคณิต
·       การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
คณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
      ความหมาย     เป็นระบบการคิดที่ใช้ในการศึกษาและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างเชิงปริมาณ  ใช้ภาพ  สัญญาลักษณ์  พูด  เขียน  เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับ  ตัวเลข  จำนวน  การคิดคำนวณ  ต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผลและสร้างสรรค์
      ความสำคัญ
-                   เกี่ยวข้องกับชีวิตประจะวัน
-                    ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา   ( ให้มีเหตุผล )
-                   เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล  วางแผนงาน  และประเมินผล
-                   เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
       ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญา    Piaget.
1.            ขั้นพื้นฐาน  พัฒนาด้านประสาทสัมผัส  ( รูปทรง )   สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกลักษณะของวัตถุได้  ( 0 – 2  ปี )
2.            ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล  (              2 – 7 ปี  )   ใช้ภาษาแสดงความคิดเห็น  รู้คำที่บอกขนาด  น้ำหนัก  รูปทรง  และความยาว  เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่เป็นนามธรรม  เช่น  จำนวน  ตัวเลข  ตัวอักษร
** เด้กในวัยนี้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด **
            ( เด็กในวัยนี้ จะตัดสินจากสิ่งที่ตาเห็น )
เช่น  กรณี ที่ 1     เด็กตอบน้ำในแก้วทั้งสอง เท่ากัน

    กรณีที่ 2  เปลี่ยนแก้วที่ 2 เป็นแก้วที่ 3 เด็กตอบว่า  น้ำในใบที่ 3 มากกว่าน้ำในใบที่ 2

การอนุรักษ์  Conservation      การสะสมความคิดเดิม    พัฒนาได้โดย
-                   การนับ
-                   การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-                   การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
-                   เรียงลำดับ
-                   จัดกลุ่ม
*** หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้การอนุรักษ์แล้ว  เด็กจะย้อนไปดูทำการพิสูจน์  ทดลอง ***
    หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   (  เด็กซึมทราบทักษะทางคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น  )
1.            เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย  อธิบาย  สำรวจ  ผ่านวัตถุ และสื่ออุปกรณ์
2.            ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น  และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
3.            ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ในการสร้างความเข้าใจ
4.            ใช้คำถามปลายเปิด
5.            เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
        
Ø ทำกิจกรรม 
วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะ  พร้อมทั้งตัดปะรองเท้าให้กับสัตว์ที่วาด
 

 

** ประโยชน์ของการทำกิจกรรม **
1.            ได้นับเลข   /  นับจำนวนขาของสัตว์
2.            ได้รู้จำนวนของตัวเลข  /  1 ,2 , 3 , 4 , 5 อื่น ๆ
3.            สามารถสอนการจับคู่ขาสัตว์ได้  /  1 ต่อ 1
4.            สามารถเรียงลำดับเลขได้
5.            เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต

                    





                                                              บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
                                       ประจำวันศุกร์  ที่  8   เดือนพฤศจิกายน  .. 2556
         ทำกิจกรรม  วาด  Mind  mapping  ในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยให้สะท้อนความรู้ก่อนเรียนกับรายวิชานี้